ฟังความหมาย นะ คราฟ (*__*)

วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

ความกดอากาศมาตรฐาน
อากาศมีสถานะเป็นก๊าซ แต่อากาศก็มีน้ำหนักเช่นเดียวกับของแข็งและของเหลว เราเรียกน้ำหนักซึ่งกดทับกันลงมานี้ว่า “ความกดอากาศ” (Air pressure) ความกดอากาศจะมีความแตกต่างกับแรงที่เกิดจากน้ำหนักกดทับตรงที่ความกดอากาศ มีแรงดันอากาศทุกทิศทาง เช่นเดียวกับแรงดันอากาศในลูกโป่ง เมื่ออากาศเย็นซึ่งมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศร้อน จึงมีความกดอากาศมากกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศสูง” (High pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “H” สีน้ำเงินเป็นสัญลักษณ์ ในทางกลับกันหากอากาศร้อนก็จะมีความหนาแน่นน้อยกว่าอากาศเย็น จึงมีความกดอากาศน้อยกว่าเรียกว่า “ความกดอากาศต่ำ” (Low pressure) ในแผนที่อุตุนิยมจะใช้อักษร “L” สีแดง เป็นสัญลักษณ์ นักอุตุนิยมวิทยาใช้เครื่องมือ "บารอมิเตอร์" อย่างละเอียดสำหรับวัดความกดอากาศ หน่วยที่ใช้วัดความกดของอากาศนั้นอาจจะเป็นความสูงของปรอทเป็นนิ้วหรือ เซนติเมตร ปอนด์ต่อตารางนิ้ว หรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตรก็ได้ แต่ในปัจจุบันส่วนมากนิยมใช้หน่วยเป็นมิลลิบาร์ (millibar) เพราะเป็นหน่วยที่สะดวกกว่า ซึ่งเราจะเปรียบเทียบกันได้ตามหลักการคำนวณต่อไปนี้

เศษส่วนของ 1 atm ความสูงโดยเฉลี่ย
(เมตร) (ฟุต)
1 0 0
1/2 5,486 18,000
1/3 8,376 27,480
1/10 16,132 52,926
1/100 30,901 101,381
1/1000 48,467 159,013
1/10000 69,464 227,899
1/100000 96,282 283,076

เขียนโดย ครูจำเริญ สุวรรณประสิทธิ์ 0 ความคิดเห็น
ความกดอากาศเป็น ความกดดันอยู่จุดใดหนึ่งของชั้นบรรยากาศของ โลก โดยทั่วไปความกดอากาศจะประมาณเท่ากับความกดดันที่เกิดขึ้นย้อนน้ำหนักของ อากาศอยู่บนจุดนั้น ๆ ซึ่งหมายความว่า จุดที่มีความกดอากาศต่ำจะมีอากาศที่มีมวลสารต่ำกว่าจะอยู่ข้างบนมัน ด้วยเหตุผลแบบเดียวกัน ความกดอากาศจะต่ำลงเมื่อระดับความสูงเพิ่มขึ้น ความกดอากาศที่ความสูงระดับน้ำทะเล จะเท่ากับ 1 atm (หนึ่งหน่วยบรรยากาศ) หรือ 101.325 kPa (กิโลปาสคาล) หรือ 760 mmHg (มิลลิเมตรปรอท)
ที่มา http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A8
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
บรรยากาศ

อากาศ
อากาศ (air) ที่ห่อหุ้มโลกอยู่ทั้งหมด เรียกว่า บรรยากาศ ส่วนอากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่เฉพาะส่วนเรียกว่า อากาศ อากาศเป็นสิ่งที่อยู่ในสถานะที่เป็นแก๊ส มีส่วนประกอบต่างๆ ในอัตราส่วนที่ต่างกันไป อากาศจะประกอบด้วยสิ่งต่างๆ ดังนี้

รูปแสดงส่วนประกอบของอากาศ

1. ไนโตรเจน (nitrogen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 78 โดยปริมาตร ไนโตรเจนทำให้ออกซิเจนที่มีอยู่ในอากาศไม่เข้มข้น ทำให้การสันดาปซึ่งเป็นปฏิกิริยาทางเคมีลดความรวดเร็วลง ไนโตรเจนในอากาศบางส่วนจะถูกแบคทีเรียที่อยู่ในดิน ในรากพืชบางชนิด ตรึงเอาไปไว้เพื่อประโยชน์ของพืช เมื่อพืชและสัตว์ตายลงจะสลายตัวเป็นไนโตรเจนกลับสู่อากาศอีกครั้ง
2. ออกซิเจน (oxygen) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 21 โดยปริมาตร ออกซิเจนเป็นส่วนประกอบสำคัญในการสันดาป พืชและสัตว์ต้องใช้ออกซิเจนในการหายใจ (กระบวนการเมแทบอลิซึมของเซลล์) และออกซิเจนเกิดมาจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงของพืช
3. คาร์บอนไดออกไซด์ (carbondioxide) เป็นส่วนประกอบอยู่ในอากาศประมาณร้อยละ 0.04 โดยปริมาตร พืชใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง การหายใจออกของสิ่งมีชีวิตจะหายใจเอาคาร์บอนไดออกไซด์ออกสู่ภายนอก
4. แก๊สเฉื่อย (inert gas) เป็นแก๊สที่ไม่มีความว่องไวต่อปฏิกิริยาทางเคมีใดๆ เช่น


1) อาร์กอน (Ar) มีอยู่ในอากาศมากที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยด้วยกัน มีอยู่ประมาณร้อยละ 0.09 โดยปริมาตร นำไปใช้ในการทำหลอดไฟฟ้าเรืองแสง เพราะพบว่า ถ้านำอาร์กอนกับไนโตรเจนใส่ลงในหลอดไฟฟ้า ไอของอาร์กอนจะทำให้หลอดไฟฟ้า เกิดการเรืองแสงขึ้นได้
2) ฮีเลียม (He) เป็นแก๊สที่มีความหนาแน่นต่ำ นำไปใช้ในการบินของเรือเหาะในยุคก่อน ซึ่งปัจจุบันไม่มีแล้ว
3) นีออน (Ne) เป็นแก๊สที่เปล่งแสงได้สวยงามเมื่อกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ผ่าน นิยมนำมาทำป้ายโฆษณาในเวลากลางคืน
4) คริปทอน (Kr) และซีนอน (Xe) เป็นแก๊สที่มีน้อยที่สุดในกลุ่มของแก๊สเฉื่อยในอากาศ นำมาใช้ประโยชน์ในการทำไฟโฆษณา
5) ไอน้ำ เป็นส่วนของน้ำที่กลายเป็นไอน้ำเนื่องจากความร้อนของแหล่งความร้อนต่างๆ แล้วไปอยู่ในอากาศเป็นส่วนประกอบของอากาศ ถ้าในอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 60 ณ อุณหภูมิ 68 องศาฟาเรนไฮต์ เราจะรู้สึกสบายที่สุด
6) ฝุ่นละออง ในอากาศมีฝุ่นละอองจำนวนไม่มากนักเมื่อเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของอากาศ อื่นๆ ฝุ่นละอองจะเป็นตัวช่วยสะท้อนแสงทำให้แสงจากดวงอาทิตย์สว่างมากขึ้น
7)สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กในอากาศจะมีสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กเป็นส่วนประกอบด้วย เช่น แบคทีเรีย รา ไวรัส เป็นต้น

ข้อควรทราบ
-อากาศ เป็นของผสมที่ประกอบด้วยสารแตกต่างกันหลายชนิด เพราะส่วนประกอบของอากาศเปลี่ยนแปลงได้ แยกออกจากกันได้ด้วยวิธีทางกายภาพ ออกซิเจนและไนโตรเจนมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับออกซิเจนและไนโตรเจนบริสุทธิ์


# จากผิวโลกสูงขึ้นไปในระยะ 800 - 1,000 กิโลเมตร โดยนับจากระดับน้ำทะเลจัดเป็นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลก ถัดจากความสูงนี้ขึ้นไปเป็นบริเวณที่มีอนุภาคต่างๆ น้อยมากและไม่อยู่ภายใต้แรงดึงดูดของโลก เรียกส่วนนี้หรือบริเวณนี้ว่า อวกาศ

รูปแสดงระดับชั้นบรรยากาศและอวกาศ


สมบัติของอากาศ
อากาศมีสมบัติเฉพาะตัวที่สำคัญ คือ
1. เป็นสสาร มีมวล มีตัวตน ต้องการที่อยู่ และสัมผัสได้
2. เป็นของไหลถ่ายเทไปได้ตลอดเวลา อากาศจะไหลจากบริเวณที่มีความกดดันอากาศสูงไปยังบริเวณที่ความกดดันอากาศต่ำ จึงทำให้เกิดลม
3. ทำให้เป็นของเหลวได้โดยการเพิ่มความดันสูงๆ หรือทำให้เย็นจัดๆ อากาศจะเปลี่ยนไปเป็นของเหลว เรียกว่า อากาศเหลว มีลักษณะเป็นของเหลวไม่มีสี
4. อากาศมีความหนาแน่น มีความดัน มีความชื้น และมีระดับอุณหภูมิ


ความหนาแน่นของอากาศ
ความหนาแน่นของอากาศ (density) เป็นอัตราส่วนระหว่างมวลกับปริมาตรของอากาศ



จากการทำการทดลองพบว่า ความหนาแน่นของอากาศจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มมากขึ้นทุกๆ ความสูงที่เพิ่มขึ้น 2 กิโลเมตร จากระดับน้ำทะเล


ตารางแสดงความหนาแน่นของอากาศในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลและระดับต่างๆ
ความสูงจากระดับน้ำทะเล (km) ความหนาแน่นของอากาศ (kg/ )
0
2
4
6
8
10
12
14
16
18
20
1.225
1.007
0.819
0.660
0.526
0.414
0.312
0.228
0.166
0.122
0.089

การจัดแบ่งชั้นบรรยากาศ
การจำแนกเพื่อจัดชั้นของบรรยากาศ โดยทั่วไปจะจัดจำแนกตามลักษณะที่มีลักษณะเด่นชัด ตัวอย่างเช่น จัดจำแนกตามอุณหภูมิ จัดจำแนกตามสมบัติของแก๊สที่มีอยู่ จัดจำแนกตามสมบัติทางอุตุนิยมวิทยา


การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ระดับอุณหภูมิเป็นเกณฑ์
การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ระดับอุณหภูมิจะแบ่งชั้นบรรยากาศได้ 4 ชั้น คือ
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะดังนี้
1) เริ่มตั้งแต่ผิวโลกขึ้นไปถึงระยะ 10 กิโลเมตร
2) อุณหภูมิจะเปลี่ยนไปตามระดับความสูง โดยระดับอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง โดยทั่วไปจะลดลงประมาณ 6.5 องศาเซลเซียสต่อความสูงหนึ่งกิโลเมตร และมีลักษณะเฉพาะ คือ บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นทวีปในฤดูร้อน บริเวณที่อยู่เหนือภาคพื้นมหาสมุทรในฤดูหนาว อุณหภูมิจะลดลงตามความสูงอย่างรวดเร็ว
3) ในส่วนของโทรโพสเฟียร์ที่เป็นส่วนแคบๆ จะเกิดการผันกลับของอุณหภูมิ โดยอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูง การผันกลับของอุณหภูมิจะเกิดขึ้นเหนือภาคพื้นทวีปในฤดูหนาวและเหนือมหาสมุทร ในฤดูร้อน เนื่องจากการเย็นตัวของผิวดินด้วยการแผ่รังสี หรือจากการที่อากาศที่มีอุณหภูมิสูงสัมผัสกับผิวดินที่เย็นกว่า
4) มีปรากฏการณ์ต่างๆ เกิดขึ้นในบรรยากาศชั้นนี้ เช่น ลมพายุ ฝนฟ้าคะนอง ฟ้าแลบ ฟ้าร้อง ฟ้าผ่า เป็นต้น
2. สตราโทสเฟียร์ (stratosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก 50 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจน เช่น
1) จะมีอุณหภูมิคงที่ในส่วนที่อยู่ติดกับชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 20 กิโลเมตร ถัดจากความสูง 20 กิโลเมตรนี้ไปอีก 10-15 กิโลเมตร หรือที่ความสูงจากชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไป 30-35 กิโลเมตรอุณหภูมิจะเพิ่มสูงขึ้น และต่อจากนั้นอุณหภูมิจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วด้วยอัตรา 0.5 องศาเซลเซียสต่อความสูง 1 กิโลเมตร
2) สตราโทสเฟียร์เป็นชั้นบรรยากาศที่มีความชื้นในระดับ ต่ำมาก มีปริมาณของฝุ่นละอองน้อย
3) เป็นชั้นบรรยกาาศที่มีปริมาณแก๊สโอโซน (O3) เข้มข้นมาก
3. มีโซสเฟียร์ (mesophere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัด จากสตราโทสเฟียร์ขึ้นไปอีกเป็นระยะความสูงประมาณ 80 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะก็คือ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามระดับของความสูงที่เพิ่มขึ้น
4. เทอร์โมสเฟียร์ (thermosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากมีโซสเฟียร์ขึ้นไปเป็นระยะความสูง 400-500 กิโลเมตร มีลักษณะเฉพาะ คือ
1) ในระยะความสูง 100 กิโลเมตรแรก ระดับอุณหภูมิของชั้นบรรยากาศนี้จะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และถัดจาก 100 กิโลเมตรแรกขึ้นไปอีกระดับ อุณหภูมิของชั้นบรรยากาศจะลดลงตามความสูงที่เพิ่มขึ้น
2) ระดับอุณหภูมิของบรรยากาศชั้นนี้จะร้อนมาก โดยจะมีระดับอุณหภูมิสูงถึง 227-1,727 องศาเซลเซียส
3) ปริมาณของอนุภาคต่างๆ มีความหนาแน่นน้อยมาก
4) บรรยากาศชั้นนี้จะเป็นบริเวณที่บรรยากาศเปลี่ยนไปเป็นแก๊สระหว่างดวงดาวที่มีความเบาบางมาก ซึ่งเรียกเอกโซสเฟียร์ (exosphere)

รูปแสดงการแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้อุณหภูมิเป็นเกณฑ์

การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศที่มีแก๊สต่างๆ เป็นเกณฑ์
การจัดจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศที่มีแก๊สต่างๆ เป็นเกณฑ์ จัดแบ่งชั้นบรรยากาศได้เป็น 4 ชั้น ดังนี้
1. โทรโพสเฟียร์ (troposhere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ตั้งแต่ส่วนที่ติดผิวโลกขึ้นไปในอากาศที่ระยะความสูง 10 กิโลเมตรโดยประมาณ
2) มีส่วนประกอบของอากาศที่สำคัญมากคือ ไอน้ำ โดยทั่วไปจะมีส่วนประกอบของอากาศตามปกติ
2. โอโซโนสเฟียร์ (ozonosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นของบรรยากาศที่อยู่ถัดจากบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์ขึ้นไปอีก ถึงระยะประมาณ 50-55 กิโลเมตรจากผิวโลก
2) บรรยกาาศชั้นนี้จะมีปริมาณของแก๊สโอโซน (O3) อยู่มากที่สุด อาจเรียกบรรยากาศชั้นนี้ว่า ชั้นโอโซน ก็ได้
3. ไอโอโนสเฟียร์ (ionosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่ถัดจากชั้นโอโซโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงประมาณ 600 กิโลเมตรจากผิวโลก
2) มีปริมาณอิเล็กตรอนอิสระอยู่เป็นจำนวนมาก
3) ระยะจากผิวโลกขึ้นไปถึงชั้นไอโอโนสเฟียร์ พบว่าคลื่นความถี่ของวิทยุสามารถส่งสัญญาณไปได้ทั่วทุกหนทุกแห่งบนโลกไปได้ ไกลเป็นระยะทางประมาณ 1,000 กิโลเมตร
4. เอกโซสเฟียร์ (exosphere) เป็นชั้นบรรยากาศที่มีลักษณะเฉพาะดังนี้
1) เป็นชั้นบรรยากาศที่อยู่สูงสุดถัดจากชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ขึ้นไปถึงระยะความสูงกว่าผิวโลกประมาณ 660 กิโลเมตร
2) ในชั้นบรรยากาศนี้ความหนาแน่นขององค์ประกอบของอากาศจะมีน้อยลง

รูปแสดงการจัดแบ่งชั้นบรรยากาศโดยใช้ส่วนประกอบของอากาศเป็นเกณฑ์


การจำแนกชั้นบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับ อุตุนิยมวิทยา
การจัดจำแนกชั้นของบรรยากาศโดยใช้ความเกี่ยวข้องกับเรื่องของอุตุนิยมวิทยา จัดจำแนกได้ถึง 5 ชั้น คือ
1. ชั้นที่มีอิทธิพลของความฝืด บรรยากาศชั้นนี้จะอยู่ถึงระดับความสูง 2 กิโลเมตรจากพื้นผิวของโลก เป็นบริเวณที่มีการไหลเวียนไปมาของอากาศ ความร้อนจากผิวโลกจะทำให้อากาศในบรรยากาศชั้นนี้มีโครงสร้างที่แปรเปลี่ยนไป ด้วยการถ่ายทอดความร้อนให้กับอากาศในบริเวณนั้นๆ
2. โทรโพสเฟียร์ส่วนชั้นกลางและชั้นบน บรรยากาศชั้นนี้จะมีการลดลงของอุณหภูมิขณะความสูงเพิ่มขึ้น อิทธิพลของความฝืดจะมีผลทำให้การไหลเวียนของอากาศน้อยลง
3. โทรโพพอส (tropopause) บรรยากาศชั้นนี้อยู่ระหว่างบรรยากาศชั้นโทรโพสเฟียร์และสตราโทสเฟียร์ บรรยากาศชั้นนี้จะแบ่งเป็นชั้นที่มีไอน้ำและชั้นที่ไม่มีไอน้ำ
4. สตราโทสเฟียร์ (startosphere) บรรยากาศชั้นนี้จะมีความชื้น ฝุ่นละอองเพียงเล็กน้อย และมีโอโซนหนาแน่น
5. บรรยากาศชั้นสูง เป็นบรรยากาศชั้นที่อยู่ถัดจากชั้นสตราโทสเฟียร์ไปจนไปจดขอบนอกสุดของชั้นบรรยากาศโลกอุณหภูมิของอากาศ

อุณหภูมิ (temperature) ของอากาศ เป็นระดับปริมาณความร้อนที่อากาศมีอยู่ในแต่ละช่วงเวลาและแต่ละสถานที่ จากการศึกษาและการตรวจวัดอุณหภูมิของอากาศโดยตรวจจากระดับผิวโลกขึ้นไปใน ชั้นบรรยากาศที่ระดับความสูง 10 กิโลเมตร ผู้ตรวจวัดพบว่า อุณหภูมิของอากาศจะมีการลดลงเมื่อระดับความสูงจากผิวโลกเพิ่มขึ้น ทั้งนี้อธิบายได้ว่า ในเวลากลางวันผิวโลกรับแสงแดดหรือแสงจากดวงอาทิตย์ แล้วเก็บไว้ใช้ด้วยการดูดกลืน จากนั้นความร้อนที่เก็บสะสมไว้จะถูกคายออกมา บรรยากาศจะได้รับความร้อนนั้นโดยเฉพาะบริเวณที่อยู่ใกล้ผิวโลก จึงทำให้อุณหภูมิของบรรยากาศชั้นที่อยู่ใกล้ผิวโลกสูงกว่าบรรยากาศชั้นที่ อยู่สูงขึ้นไป

รูปแสดงลักษณะการเกิดอุณหภูมิของบรรยากาศ

อุณหภูมิของบรรยากาศในชั้นบรรยากาศต่างๆ ตามระดับความสูงของผิวโลกจะมีความแตกต่างกันดังตาราง

ตารางแสดงอุณหภูมิของอากาศที่ระดับความสูงต่างๆ กัน

ระดับความสูงจาก
ระดับน้ำทะเล (km) อุณหภูมิของอากาศ ( ํC)
0
0.089
7.504
3.138
4.396
5.848
7.557
7.647 27.0
25.3
18.2
8.0
2.2
-6.1
-17.6
-32.3


จากข้อมูลตามตารางที่แสดงทำให้ทราบว่า
1. ช่วงความหนาแน่นของบรรยากาศจากผิวโลกขึ้นไปประมาณ 10 กิโลเมตร อุณหภูมิของอากาศจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้น
2. ตัวเลขแสดงอัตราการเปลี่ยนแปลงระดับอุณหภูมิ 5.5 องศาเซลเซียส ต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร หรือระดับอุณหภูมิจะลดลง 5.5 องศาเซลเซียส เพื่อความสูงเพิ่มขึ้น 1 กิโลเมตร
3. ถ้าเรานำเอาข้อมูลนี้ไปเขียนกราฟ จะพบว่ากราฟมีลักษณะเป็นเส้นกราฟที่ค่อยๆ โค้งลง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงว่า ค่าของอุณหภูมิจะค่อยๆ ลดลงเมื่อระดับของบรรยากาศสูงขึ้น


กราฟแสดงอุณหภูมิของอากาศที่ระดับความสูงต่างกัน

จากกราฟจะเห็นได้ชัดเจนว่า อุณหภูมิจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มมากขึ้น สิ่งนี้ทำให้เราทราบว่า ถ้าเราต้องเดินทางสูงจากผิวของพื้นโลกขึ้นไปในระดับความสูงไม่เกิน 10 กิโลเมตร เราต้องเตรียมพร้อมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมิฉะนั้นอาจเกิดความ เสียหายต่อยานพาหนะและอาจเป็นอันตรายถึงขั้นเสียชีวิตได้ในที่สุด


ความดันอากาศ
ความดันอากาศ (air presour) หมายถึง แรงดันของอากาศ ซึ่งก็เป็นเรื่องของสมบัติของอากาศที่ต้องการที่อยู่ อากาศจะเคลื่อนที่โดยโมเลกุลของอากาศจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากอยู่ในสถานะของแก๊ส อากาศจะเคลื่อนที่ไปทุกทิศทุกทางทำให้เกิดแรงที่เรียกว่า แรงดันอากาศ แรงดันอากาศจะขึ้นอยู่กับอิทธิพลของขนาดพื้นที่ อุณหภูมิ และอื่นๆ


การวัดความดันของอากาศ
การวัดความดันของอากาศ มีนักวิทยาศาสตร์ได้ทำการศึกษาค้นคว้าไว้จนสามารถสร้างเครื่องวัดความดันของอากาศได้
นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องความดันของอากาศที่ควรรู้จักมี 2 ท่านด้วยกัน คือ กาลิเลโอ (Galileo) และเทอริเชลลี (Torricelli) โดยศึกษาพบว่า อากาศสามารถดันของเหลว เช่น น้ำหรือปรอทให้เข้าไปอยู่ในหลอดแก้วที่เป็นสุญญากาศได้ จึงนำความรู้ดังกล่าวมาประยุกต์ใช้สร้างเครื่องวัดความดันบรรยากาศที่มีชื่อ เรียกว่า บารอมิเตอร์ (barometer) บารอมิเตอร์จะใช้ปรอทบรรจุไว้ภายในหลอดแก้วเนื่องจากมีคุณสมบัติที่ดีกว่าของเหลวอื่นๆ


ข้อควรทราบ
1. ความดัน 1 บรรยากาศ คือ ความดันของอากาศที่ทำให้ปรอทเคลื่อนสูงขึ้นไปได้ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร
2. 1 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1,013.25 มิลลิบาร์
3. 1,000 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 1 บาร์
4. 1 บรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 1.013105 นิวตันต่อตารางเมตร
5. ในทางอุตุนิยมวิทยาจะใช้หน่วยของบารอมิเตอร์ เป็นนิ้ว มิลลิเมตร มิลลิบาร์ หรือบาร์
6. 1 นิ้ว มีค่าเท่ากับ 25.4 มิลลิเมตร
7. 1 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 0.02953 นิ้วของปรอท
8. 1 มิลลิบาร์ มีค่าเท่ากับ 0.750062 มิลลิเมตรของปรอท


เครื่องมือวัดความดันอากาศ
เครื่องมือที่ใช้วัดความดันของอากาศเราเรียกว่า บารอมิเตอร์ (barometer) เป็นเครื่องมือที่ทำให้ทราบว่า ณ บริเวณหนึ่ง บริเวณใดมีความกดของอากาศมากน้อยเท่าไร ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการทำงานของอุตุนิยมวิทยา ชนิดของบารอมิเตอร์มีดังต่อไปนี้
1. บารอมิเตอร์แบบปรอท (barometer) ประกอบด้วยหลอดแก้วยาวที่ปิดปลายด้านหนึ่งไว้ และทำให้เป็นสุญญากาศ นำไปคว่ำลงในอ่างที่บรรจุปรอทไว้ อากาศภายนอกจะกดดันให้ปรอทเข้าไปอยู่ในหลอดแก้วในระดับหนึ่งของหลอดแก้ว ระดับของปรอทจะเปลี่ยนแปลงไปตามความกดดันของอากาศ โดยความดัน 1 บรรยากาศจะดันปรอทให้สูงขึ้นไปได้ 76 เซนติเมตร หรือ 760 มิลลิเมตร

รูปแสดงบารอมิเตอร์แบบปรอท

2. แอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ (aneriod barometer) ชนิดไม่ใช้ปรอทหรือของเหลวแบบอื่นๆ เป็นบารอมิเตอร์ที่จะทำเป็นตลับโลหะแล้วนำเอาอากาศออกจนเหลือน้อย (คล้ายจะทำให้เป็นสุญญากาศ) เมื่อมีแรงจากอากาศมากดตลับโลหะ จะทำให้ตลับโลหะมีการเคลื่อนไหว ทำให้เข็มที่ติดไว้กับตัวตลับชี้บอกความกดดันของอากาศโดยทำสเกลบอกระดับความ ดันของอากาศไว้ แอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ประดิษฐ์โดยวีดี (Vidi) ในปี พ.ศ. 2388 มีขนาดเล็กพกพาไปได้สะดวก

รูปแสดงแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์

3. บารอกราฟ (barograph) เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความดันอากาศที่ใช้หลักการเดียวกับแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ แต่จะบันทึกความกดดันอากาศแบบต่อเนืองลงบนกระดาษตลอดเวลาในลักษณะเป็นเส้นกราฟ

รูปแสดงบารอกราฟ

4. แอลติมิเตอร์ (altimeter) เป็นแอนนิรอยด์บารอมิเตอร์ ที่นำมาประยุกต์ให้ใช้ความกดดันของอากาศวัดระดับความสูง แอล-ติมิเตอร์เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบิน เครื่องมือที่นักกระโดดร่มใช้เพื่อการกระโดดร่ม

รูปแสดงแอลติมิเตอร์ความชื้นของอากาศ

รูปแสดงแอลติมิเตอร์ความชื้นของอากาศ


ความชื้นของอากาศ (humidity) หมายถึง ปริมาณของไอน้ำที่มีอยู่ในชั้นบรรยากาศ ในกรณีที่มีความชื้นในอากาศสูงหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำมาก และถ้าอากาศมีความชื้นต่ำหมายถึงว่าอากาศมีปริมาณไอน้ำน้อย


ข้อควรทราบ

อากาศอิ่มตัว หมายถึง อากาศที่มีปริมาณไอน้ำสูงมาก จึงเป็นอากาศที่ไม่สามารถจะรับไอน้ำจากที่ต่างๆ ได้อีก ในกรณีที่มีไอน้ำเกินกว่าระดับปกติมาก ไอน้ำจะจัดการตัวเองโดยการกลายเป็นหยดน้ำตกลงมาเป็นฝน

ความชื้นสัมบูรณ์
ความชื้นสัมบูรณ์ หรือความชื้นแท้ (absolute humidity) เป็นความชื้นที่มีมวลของไอน้ำที่มีอยู่จริงในอากาศหนึ่งหน่วยปริมาตร ในเวลาใดเวลาหนึ่ง มีหน่วยในการวัดเป็นกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ความชื้นสัมบูรณ์ในอีกความหมายก็คือ ความหนาแน่นของไอน้ำ หรือปริมาณไอน้ำในอากาศ ความชื้นสัมบูรณ์จะมีค่าเท่ากับอัตราส่วนระหว่างมวลของไอน้ำที่มีจริงในอากาศ กับปริมาตรของอากาศ ดังสมการ

ตัวอย่างที่ 1 ห้องแห่งหนึ่งมีปริมาณ 1,200 ลูกบาศก์เมตร มีไอน้ำกระจายอยู่ 40,000 กรัม ความชื้นสัมบูรณ์ภายในห้องนี้มีค่าเท่าใด
วิธีทำ ความชื้นสัมบูรณ์
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
1. ทะเลสงบ (Calm) ความสูงของคลื่น 0.0 เมตร ถึง 0.10 เมตร
2. ทะเลเรียบ (Smooth) ความสูงของคลื่น 0.10 เมตร ถึง 0.50 เมตร
3. ทะเลมีคลื่นเล็กน้อย (Slight) ความสูงของคลื่น 0.50 เมตร ถึง 1.25
เมตร
4. ทะเลมีคลื่นปานกลาง (Moderate) ความสูงของคลื่น 1.25 เมตร ถึง 2.50 เมตร
5. ทะเลมีคลื่นจัด (Rough) ความสูงของคลื่น 2.50 เมตร ถึง 4.00 เมตร
6. ทะเลมีคลื่นจัดมาก (Very Rough) ความสูงของคลื่น 4.00 เมตร ถึง 6.00 เมตร
7. ทะเลมีคลื่นใหญ ่(High) ความสูงของคลื่น 6.00 เมตร ถึง 9.00 เมตร
8. ทะเลมีคลื่นใหญ่มาก (Very High) ความสูงของคลื่น 9.00 เมตร ถึง 14.00 เมตร
9. ทะเลมีคลื่นใหญ่และจัดมาก (ทะเลบ้า – Phenomenal) ความสูงของคลื่นมากกว่า 14 เมตร

บริเวณความกดอากาศสูง(High Pressure Area หรือ High) หรือแอนติไซโคลน(Anticyclone)

บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน คือ บริเวณที่มีความกดอากาศสูงกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลม หรือเป็นวงรีรูปไข่ล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศสูง นั่นคือ บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศสูงขึ้นจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนนี้จะมีกระแสลมพัดออกจากศูนย์กลางในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนเช่นนี้ เรียกว่า Anticyclonic Circulation

โดยทั่วไปในบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนลมอ่อน และลมมักสงบในบริเวณใกล้ศูนย์กลาง มีเมฆเพียงเล็กน้อย แต่อาจมีเมฆมากกับมีฝนได้ตามขอบของบริเวณความกดอากาศสูง หรือแอนติไซโคลนที่อยู่ใกล้กับแนวปะทะอากาศ

ในซีกโลกเหนือ ทางตะวันออกของบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลน อากาศจะเย็นที่ผิวพื้นและเป็นลมฝ่ายเหนือพัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Cold High ส่วนทางด้านตะวันตก อากาศจะค่อนข้างร้อนและเป็นลมฝ่ายใต้พัดผ่าน เรียกบริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิดนี้ว่า Warm High บริเวณความกดอากาศสูงหรือแอนติไซโคลนชนิด Cold High แผ่ลงมาเมื่อไร อากาศจะหนาวเย็น ส่วน Warm High อากาศจะร้อนเนื่องจากลมพัดมาจากทางใต้ แม้ว่าจะมีความชื้นสูงแต่ไม่มีฝนตก จะทำให้อากาศร้อนอบอ้าว บางครั้งเรียกว่า คลื่นความร้อน (Heat Wave)

บริเวณความกดอากาศต่ำ (Low Pressure Area หรือ Low)

บริเวณความกดอากาศต่ำ คือ บริเวณที่มีความกดอากาศต่ำกว่าบริเวณใกล้เคียงที่อยู่รอบๆ ในแผนที่อากาศผิวพื้นแสดงด้วยเส้นความกดอากาศเท่าเป็นวงกลมล้อมรอบบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำ นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำ จะเป็นบริเวณที่มีความกดอากาศต่ำลงจากขอบนอกเข้าสู่ศูนย์กลาง บริเวณความกดอากาศต่ำนี้จะมีกระแสลมพัดเข้าหาศูนย์กลางในทิศทางทวนเข็มนาฬิกาในซีกโลกเหนือ และในทิศทางตามเข็มนาฬิกาในซีกโลกใต้ การเคลื่อนไหวของอากาศรอบศูนย์กลางบริเวณความกดอากาศต่ำเช่นนี้ เรียกว่า Cyclonic Circulation ตามปกติในบริเวณความกดอากาศต่ำจะมีเมฆมากและมีฝนตกด้วย บริเวณความกดอากาศต่ำ แบ่งออกได้ 2 ชนิด คือ

1. Cold Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะต่ำกว่าภายนอก และเกิดในแถบละติจูดสูงๆ ที่อากาศเย็น เมื่อเกิดขึ้นแล้วการหมุนเวียนจะต่อเนื่องกัน ความชันของความกดจะเพิ่มมากขึ้นตามความสูงซึ่งสัมพันธ์กับกระแสลม นั่นคือ บริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Cold Core จะมีลมพัดแรงขึ้นตามความสูง และมักมีแนวปะทะอากาศเกิดขึ้นร่วมด้วยเสมอ

2. Warm Core ที่แกนกลางของความกดอากาศต่ำชนิดนี้ อุณหภูมิจะร้อนกว่าภายนอก การหมุนเวียนจะเหมือนกับชนิด Cold Core และมีเฉพาะในเขตร้อนเท่านั้น เนื่องจากแกนกลางร้อน ฉะนั้น อากาศที่เย็นกว่าจะพัดเข้าแทนที่จมเข้าหาศูนย์กลาง ทำให้เกิดกระแสลมพัดเวียนเป็นก้นหอยเข้าหาศูนย์กลาง ขณะเดียวกันอากาศตรงกลางจะลอยตัวขึ้น ความชันของความกดตามระดับความสูงจะลดลง นั่นคือ ลมที่พัดเวียนเข้าหาศูนย์กลางรอบบริเวณความกดอากาศต่ำชนิด Warm Core ความเร็วลมจะลดลงตามความสูง พายุจะรุนแรงที่สุดที่ผิวพื้นเท่านั้น สูงขึ้นไปลมกำลังอ่อนลง

บริเวณความกดอากาศต่ำทั้ง 2 ชนิด เกิดฝนตกหนักเท่าๆ กัน แต่ความเร็วลมจะต่างกัน


ที่มา


เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา
0 ความคิดเห็น
ความรู้อุตุนิยมวิทยา
ความเร็วลมที่ระดับสูงมาตรฐาน 10 เมตรเหนือพื้นดินในบริเวณที่โล่งแจ้ง
ขนาดของลม
สัญญลักษณ์ที่แสดงบนบก
นอต กม./ชม.
knots km./hr.
ลมสงบ
CALM
ลมเงียบ ควันลอยขึ้นตรง ๆ น้อยกว่า 1 น้อยกว่า 1
ลมเบา LIGHT AIR ควันลอยตามลม แต่ศรลมไม่หันไปตามทิศลม 1 - 3 1 - 5
ลมอ่อน
LIGHT BREEZE
รู้สึกลมพัดที่ใบหน้า ใบไม้แกว่งไกว ศรลมหันไปตามทิศลม
4 - 6
6 - 11

ลมโชย
GENTLE BREEZE
ใบไม้และกิ่งไม้เล็ก ๆ กระดิก ธงปลิว
7 - 10 12 - 19
ลมปานกลาง
MODERATE BREEZE
มีฝุ่นตลบ กระดาษปลิว กิ่งไม้เล็กขยับเขยื้อน
11 - 16
20 - 28

ลมแรง
FRESH BREEZE
ต้นไม้เล็กแกว่งไกวไปมา มีระลอกน้ำ
17 - 21
29 - 38

ลมจัด
STRONG BREEZE
กิ่งไม้ใหญ่ขยับเขยื้อน ได้ยินเสียงหวีดหวิว ใช้ร่มลำบาก
22 - 27
39 - 49

พายุเกลอ่อน
NEAR GALE
ต้นไม้ใหญ่ทั้งต้นแกว่งไกว เดินทวลมไม่สะดวก
28 - 33
50 - 61

พายุเกล
GALE
กิ่งไม้หัก ลมต้านการเดิน
34 - 40 62 - 74
พายุเกลแรง
STRONG GALE
อาคารที่ไม่มั่นคงหักพัง หลังคาปลิว
41 - 47 75 - 88
พายุ
STORM
ต้นไม้ถอนรากล้ม เกิดความเสียหายมาก (ไม่ปรากฏบ่อยนัก)
48 - 55
89 - 102

พายุใหญ่
VIOLENT STORM
เกิดความเสียหายทั่วไป (ไม่ค่อยปรากฏ)
56 - 63
103 - 117

พายุไต้ฝุ่น หรือ เฮอร์ริเคน
TYPHOON or HURRICANE
มากกว่า 63
มากกว่า 117



ที่มาhttp://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=92
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา
0 ความคิดเห็น



ความรู้อุตุนิยมวิทยา
เกณฑ์อากาศร้อน ใช้อุณหภูมิสูงสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูร้อน
1. อากาศร้อน(Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 35.0 – 39.9 องศาเซลเซียส
2. อากาศร้อนจัด(Very Hot) อุณหภูมิตั้งแต่ 40.0 องศาเซลเซียสขึ้นไป

เกณฑ์อากาศหนาว ใช้อุณหภูมิต่ำสุดประจำวันและใช้เฉพาะในฤดูหนาว
1. อากาศเย็น(Cool) อุณหภูมิตั้งแต่ 18.0 – 22.9 องศาเซลเซียส
2. อากาศค่อนข้างหนาว(Moderately Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 16.0 – 17.9 องศาเซลเซียส
3. อากาศหนาว(Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 8.0 – 15.9 องศาเซลเซียส
4. อากาศหนาวจัด(Very Cold) อุณหภูมิตั้งแต่ 7.9 องศาเซลเซียสลงไป

เกณฑ์การกระจายของฝน
1. ฝนบางพื้นที่(Isolated) หมายถึง มีฝนตกน้อยกว่า 20% ของพื้นที่
2. ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่
3. ฝนกระจาย(Scattered) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่
4. ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่
5. ฝนทั่วไป(Widespread) หมายถึง มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป

เกณฑ์ปริมาณฝน
1. ฝนเล็กน้อย(Light Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตร
2. ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร
3. ฝนหนัก(Heavy Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตร
4. ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป

เกณฑ์จำนวนเมฆในท้องฟ้า โดยแบ่งท้องฟ้าเป็น 10 ส่วน

1. ท้องฟ้าแจ่มใส(Fine) ท้องฟ้าไม่มีเมฆหรือมีแต่น้อยกว่า 1 ส่วนของท้องฟ้า
2. ท้องฟ้าโปร่ง(Fair) ท้องฟ้ามีเมฆตั้งแต่ 1 ส่วน ถึง 3 ส่วนของท้องฟ้า
3. ท้องฟ้ามีเมฆบางส่วน(Partly Cloudy Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 3 ส่วน
ถึง 5 ส่วนของท้องฟ้า
5. ท้องฟ้ามีเมฆเป็นส่วนมาก(Cloudy Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 5 ส่วน
ถึง 8 ส่วนของท้องฟ้า
6. ท้องฟ้ามีเมฆมาก(Very Cloudy Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 8 ส่วน
ถึง 9 ส่วนของท้องฟ้า
7. ท้องฟ้ามีเมฆเต็มท้องฟ้า(Overcast Sky) ท้องฟ้ามีเมฆเกินกว่า 9 ส่วน
ถึง 10 ส่วนของท้องฟ้า
ที่มา
http://www.tmd.go.th/info/info.php?FileID=29
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา
0 ความคิดเห็น

วันอังคารที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2553

วิทยาศาตร์ออนไลน์

โดย อ.ยุภาภรณ์ เสาโกมุท (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการผสมเทียม (Artificial Insemination)
- ความรู้ เรื่องการกำเนิดดิน
- ความรู้ เรื่องพฤติกรรม (Behavior)
- ความรู้ เรื่องระบบการย่อยอาหาร (Digestive System)
- ความรู้ เรื่องอาหาร (Food)
- ความรู้ เรื่อง ความเป็นกรด-เบสของดิน
- ความรู้ เรื่อง ดาว
- ความรู้ เรื่อง การเกิดแผ่นดินไหว
- ความรู้ เรื่อง ระบบขับถ่าย
- ความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของเลือด
- ความรู้ เรื่อง แหล่งน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้น
โดย อ.นฤมล สินธุรัตน์ (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องสารและสมบัติของสาร
- ความรู้ เรื่องสถานะของสาร
- ความรู้ เรื่องมวลอะตอมและมวลโมเลกุล
- ความรู้ เรื่องทฤษฎีจลน์ของก๊าซ
- ความรู้ เรื่องการแยกสาร
- ความรู้ เรื่อง พันธะเคมี
- ความรู้ เรื่อง การกลั่น
- ความรู้ เรื่อง ธาตุและสารประกอบ
- ความรู้ เรื่อง สมบัติบางประการของคอลลอยด์
- ความรู้ เรื่อง สัญลักษณ์และการเรียกชื่อธาตุ
โดย อ.ทรงเดช ทองคำ (26/01/47)
แบบเรียนด้วยตนเอง (ความรู้และแบบทดสอบ)
อาหาร
โลกและการเปลี่ยนแปลง
ดิน หิน แร่
แบบเรียนด้วยตนเอง (ความรู้และแบบทดสอบ)
พันธะเคมี ( เวปอื่น )
โครงสร้างอะตอม
ตารางธาตุ
โดย อ.รัตนา ชุปวา (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียว
- ความรู้ เรื่องความกดอากาศ
- ความรู้ เรื่องชั้นบรรยากาศแบ่งตามสมบัติอุตุนิยมวิทยา
- ความรู้ เรื่องเมฆ
- ความรู้ เรื่องโอโซนและสาร ซี เอฟ ซี
- ความรู้ เรื่องสารเนื้อเดียว
- ความรู้ เรื่อง กรด - เบสในชีวิตประจำวันและสิ่งแวดล้อม
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยที่ควบคุมการแพร่
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยสำคัญที่ใช้ในการสังเคราะห์ด้วยแสง
- ความรู้ เรื่อง สมบัติบางประการของสารละลายกรด
- ความรู้ เรื่อง ส่วนประกอบของเซลล์
โดย อ.รจนา ใจห้าว (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องระบบโครงกระดูก
- ความรู้ เรื่องการหมุนเวียนของเลือดและก๊าซ
- ความรู้ เรื่องระบบหายใจ
- ความรู้ เรื่องระบบสืบพันธ์
- ความรู้ เรื่อง กฎการเคลื่อนที่ข้อที่ 1
- ความรู้ เรื่อง กฏการเคลื่อนที่ข้อที่ 2
โดย อ.สุพัฒรา ดาวหน (27/01/47)
- ความรู้ เรื่องการเลี้ยวเบนของคลื่น
- ความรู้ เรื่องการเลี้ยวเบนของคลื่นผิวน้ำผ่านช่องเปิดคู่
- ความรู้ เรื่องการหักเหของคลื่น
- ความรู้ เรื่องคลื่นคืออะไร
- ความรู้ เรื่องส่วนประกอบของคลื่น
- ความรู้ เรื่อง สมดุลกล
- ความรู้ เรื่อง งาน
- ความรู้ เรื่อง พลังงาน
- ความรู้ เรื่อง อุปกรณ์ในวงไฟฟ้า
โดย อ.จงกล บัวสิงห์ (19/01/47)
- ความรู้เรื่อง แรง
- ความรู้ เรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อหนึ่งของนิวตันหรือกฎความเฉื่อย
- ความรู้ เรื่องมวล
- ความรู้ เรื่องกฎการเคลื่อนที่ข้อที่สองของนิวตัน
- ความรู้ เรื่องสภาพการเคลื่อนที่ของวัตถุ
- ความรู้ เรื่องกระแสไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่องคุณสมบัติของแท่งแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องสนามแม่เหล็กโลก
- ความรู้ เรื่องเส้นแรงแม่เหล็ก
- ความรู้ เรื่องแหล่งกำเนิดไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง การเคลื่อนที่ของเสียง
- ความรู้ เรื่อง การเลี้ยวเบน
- ความรู้ เรื่อง การสะท้อน
- ความรู้ เรื่อง การหักเห
- ความรู้ เรื่อง บีตส์
- ความรู้ เรื่อง คลื่นนิ่ง
- ความรู้ เรื่อง ความถี่ธรรมชาติ
- ความรู้ เรื่อง การสั่นพ้อ
โดย อ.กัญญารัตน์ พรหมคุณ (26/01/47)
- ความรู้ เรื่องปฏิกิริยาเคมีในเซลล์
- ความรู้ เรื่องเมแทบอลิซึม
- ความรู้ เรื่องการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจน
- ความรู้ เรื่องการสลายอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน
- ความรู้ เรื่อง ชนิดของเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง การทำงานของเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง ปัจจัยที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยา
- ความรู้ เรื่อง ตัวยับยั้งเอนไซม์( Inhibitor )
- ความรู้ เรื่อง ประโยชน์ของตัวยับยั้งเอนไซม์
- ความรู้ เรื่อง โครงสร้างและวิธีการแลกเปลี่ยนก๊าซของสิ่งมีชีวิต
- ความรู้ เรื่อง การหายใจของพืชหลังการเก็บเกี่ยว
- ความรู้ เรื่อง การตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ของพืช C3 และพืช C4
- ความรู้ เรื่อง แหล่งที่เกิดการสังเคราะห์ด้วยแสง
- ความรู้ เรื่อง การลำลียงน้ำ แร่ธาตุและอาหารของพืช
- ความรู้ เรื่อง ข้อสรุปแตกต่างระหว่างลำต้นของพืชใบเลี้ยงเดี่ยวและพืชใบเลี้ยงคู่
โดย อ.เพชรรัตน์ วงศ์ชา (20/01/47)
- ความรู้ เรื่องการผลิตเกลือจากน้ำทะเล
- ความรู้ เรื่องเครื่องปั้นดินเผา
- ความรู้ เรื่องแร่รัตนชาติ
- ความรู้ เรื่องแร่เชื้อเพลิง
- ความรู้ เรื่องประเภทของอุตสาหกรรม
- ความรู้ เรื่อง สารละลายกรด
- ความรู้ เรื่อง การแยกสาร
- ความรู้ เรื่อง โครมาโทกราฟฟี
- ความรู้ เรื่อง ธาตุกัมมันตรังสี
โดย อ.ปาริชาด บัวแย้ม (25/01/47)
- ความรู้ เรื่องความหมายฟิสิกส์อะตอม
- ความรู้ เรื่องโครงสร้างสาร
- ความรู้ เรื่องทฤษฎีอะตอมของดอลตัน
- ความรู้ เรื่องการค้นพบรังสีคาโธด
- ความรู้ เรื่องการทดลองหาค่าประจุต่อมวลของทอมสัน
- ความรู้ เรื่องการทดลองหยดน้ำมันของมิลลิแกน
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของทอมสัน
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของรัทเธอร์ฟอร์ด
- ความรู้ เรื่องแบบจำลองอะตอมของบอร์
- ความรู้ เรื่องสเปกตรัมของอะตอม
- ความรู้ เรื่องอนุกรมเส้นสเปกตรัม
- ความรู้ เรื่องรัศมีวงโคจร ความเร็วและพลังงานของอิเล็กตรอนตามแบบของบอร์
- ความรู้ เรื่องการทดลองของแฟรงค์และเฮริต์
- ความรู้ เรื่องรังสีเอกซ์
- ความรู้ เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก 1
- ความรู้ เรื่องปรากฏการณ์โฟโตอิเล็กตริก 2
- ความรู้ เรื่องทวิภาคของคลื่นและอนุภาคของเดอ บรอยล์
- ความรู้ เรื่องหลักความไม่แน่นอนและโอกาสเป็นไปได้ของไฮเซนเบริก
- ความรู้ เรื่องกลศาสตร์ควอนตัม
- ความรู้ เรื่องการเขียนปฏิกิริยานิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องการค้นพบนิวตรอน
- ความรู้ เรื่องการค้นพบโปรตอน
- ความรู้ เรื่องการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสี
- ความรู้ เรื่องความหมาย ฟิสิกส์นิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องชนิดของกัมมันตภาพรังสี
- ความรู้ เรื่องปฏิกิริยานิวเคลียร์
- ความรู้ เรื่องประวัติการค้นพบกัมมันตภาพรังสี
- ความรู้ เรื่องรัศมีนิวเคลียส
- ความรู้ เรื่องลูกระเบิดปรมาณูลูกที่สอง
- ความรู้ เรื่องเวลาครึ่งชีวิต
โดย อ.สมรักษ์ สีหาภาค
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของเหล็ก
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของทองแดง
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของสังกะสี
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของแคลเซียม
- ความรู้ เรื่อง สมบัติของโครเมียม
- ความรู้ เรื่อง วิตามิน
- ความรู้ เรื่อง โปรตีน
- ความรู้ เรื่อง น้ำ
- ความรู้ เรื่อง คาร์โบไฮเดรด
- ความรู้ เรื่อง ไขมัน
โดย อ.ศักดดนัย สืบเสน
- ความรู้ เรื่อง การถ่ายทอดพันธุกรรม
- ความรู้ เรื่อง สิ่งกำหนดเพศในมนุษย์
- ความรู้ เรื่อง พันธุศาสตร์
- ความรู้ เรื่อง การโคลนยีน (GENE CLONING)
- ความรู้ เรื่อง ประวัติของเมนเดล
โดย อ.เดช ผิวอ่อน
- ความรู้ เรื่อง กำลังไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ให้ความร้อน
- ความรู้ เรื่อง เต้ารับและเต้าเสียบ
- ความรู้ เรื่อง พลังงานไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง วงจรไฟฟ้า
- ความรู้ เรื่อง สะพานไฟ
ที่มา http://patchara1.igetweb.com/index.php?mo=3&art=43827
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น

วันเสาร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2553


สวัสดิศกสิ่งศักดิ์สิทธิ์สัมฤทธิผล บันดาลดลสมประสงค์จงพรรษา
ให้ปราศทุกข์ปลอดโรคภัยไร้โรคา บุญนำพาร่ำรวยทรัพย์นับอนันต์
ให้สูงศักดิ์สูงยศปรากฏชื่อ เกียรติก้องลือชาเดชทั่วเขตขัณฑ์
ชาญวิชาเชาว์ปัญญาเลิศพลานันท์ เกษมสันต์ตลอดปีมีสุขเทอญ





โมเมนต์ของแรง
โมเมนต์ของแรง (moment of force) หรือโมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลของแรงที่กระทำต่อวัตถุเพื่อให้วัตถุหมุนไปรอบจุดหมุน ดังนั้น โมเมนต์ของแรงก็คือ ผลคูณของแรงกับระยะตั้งฉากจากแนวแรงถึงจุดหมุน ดังสูตร

ทิศทางของโมเมนต์ มี 2 ทิศทาง คือ
1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา

รูปแสดงทิศทางของโมเมนต์

จากรูป โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = WxL2 (นิวตัน-เมตร)
โมเมต์ทวนเข็มนาฬิกา = ExL1 (นิวตัน-เมตร)
ถ้ามีแรงหลายแรงกระทำต่อวัตถุชิ้นหนึ่ง แล้วทำให้วัตถุนั้นอยู่ในสภาวะสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา

คาน
หลักการของโมเมนต์ เรานำมาใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า คาน (lever) หรือคานดีดคานงัด คานเป็นเครื่องกลชนิดหนึ่งที่ใช้ดีดงัดวัตถุให้เคลื่อนที่รอบจุดหมด (fulcrum) มีลักษณะเป็นแท่งยาว หลักการทำงานของคานใช้หลักของโมเมนต์


รูปแสดงลักษณะของคาน
ส่วนประกอบของคาน ส่วนประกอบที่สำคัญในการทำงานของคานมี 3 ส่วน คือ
1. จุดหมุนหรือจุดฟัลกรัม (Fulcrum) F
2. แรงความต้านทาน (W) หรือน้ำหนักของวัตถุ
3. แรงความพยายาม (E) หรือแรงที่กระทำต่อคาน
การจำแนกคาน คานจำแนกได้ 3 ประเภทหรือ 3 อันดับดังนี้
1. คานอันดับที่ 1 เป็นคานที่มีจุด (F) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และแรงความต้านทาน (W) เช่น กรรไกรตัดผ้า กรรไกรตัดเล็บ คีมตัดลวด เรือแจว ไม้กระดก เป็นต้น
รูปแสดงคานอันดับ 1

2. คานอันดับ 2 เป็นคานที่มีแรงความต้านทาน (W) อยู่ระหว่างแรงความพยายาม (E) และจุดหมุน (F) เช่น ที่เปิดขวดน้ำอัดลม รถเข็นทราย ที่ตัดกระดาษ เป็นต้น
รูปแสดงคานอันดับ 2
3. คานอันดับที่ 3 เป็นคานที่มีแรงความพยายาม (E) อยู่ระหว่างแรงความต้านทาน (W) และจุดหมุน (F) เช่น ตะเกียบ คีมคีบถ่าน แหนบ เป็นต้น
รูปแสดงคานอันดับ 3

การผ่อนแรงของคาน จะมีค่ามากหรือน้อยโดยดูจากระยะ E ถึง F และ W ว่าถ้าระยะ EF ยาวหรือสั้นกว่าระยะ WF ถ้าในกรณีที่ยาวกว่าก็จะช่วยผ่อนแรง ถ้าสั้นกว่าก็จะไม่ผ่อนแรง

หลักการคำนวณเรื่องคาน มีดังนี้
1. ถ้าโจทย์ไม่บอกน้ำหนักของคานมาให้ เราไม่ต้องคิดน้ำหนักของคาน ถือว่าคานนั้นเบามาก
2. ในการคำนวณให้ถือว่า คานมีขนาดสม่ำเสมอกันตลอด
3. ถ้าโจทย์บอกน้ำหนักคานมาให้ต้องคิดน้ำหนักคานด้วย โดยถือว่าน้ำหนักของคานจะอยู่จุดกึ่งกลางคานเสมอ
4. เมื่อคานอยู่ในสภาวะสมดุล โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกาเท่ากับโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
5. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา หรือโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกามีค่าเท่ากับ ผลบวกของโมเมนต์ย่อยแต่ละชนิด
6. เมื่อมีแรงมากระทำที่จุดหมุน ค่าของโมเมนต์มีค่าเท่ากับศูนย์เพราะระยะทางเป็นศูนย์ ดังนี้
โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนถึงแนวแรง
= แรง x 0
โมเมนต์ = 0

หลักการคำนวณเรื่องโมเมนต์ เช่น
ตัวอย่างที่ 1 คานอันหนึ่งเบามากมีน้ำหนัก 30 นิวตันแขวนที่ปลายคานข้างหนึ่ง และอยู่ห่างจุดหมุน 2 เมตร จงหาว่าจะต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ทางด้านตรงกันข้ามที่ใดคานจึงจะสมดุล

วิธีทำ สมมุติให้แขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน x เมตร คิดโมเมนต์ที่จุด F

ต้องแขวนน้ำหนัก 15 นิวตัน ห่างจากจุดหมุน 4 เมตร ตอบ

ตัวอย่างที่ 2 คานยาว 10 เมตรงัดวัตถุหนัก 100 นิวตัน โดยวางให้จุดหมุนอยู่ห่างจากวัตถุ 1 เมตร จงหาว่า จะต้องออกแรงที่ปลายคานอีกข้างหนึ่งเท่าไร

วิธีทำ คิดโมเมนต์ที่จุด F

ต้องออกแรงพยายาม = 11.11 นิวตัน ตอบ
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น เรื่อง โมเมนต์ของแรง
แรง (force) คือ อำนาจอย่างหนึ่งซึ่งสามารถทำให้หรือพยายามทำให้วัตถุเปลี่ยนภาวะจากการหยุดนิ่ง เป็นการเคลื่อนที่ หรือภาวะจากการเคลื่อนที่เป็นการหยุดนิ่ง
หน่วยของแรง แรงมีหน่วยเป็นนิวตัน (N)
ผลของแรง
1. แรงทำให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแนวแรง เกิดเป็นงาน
2. แรงทำให้วัตถุหมุนรอบจุดๆ หนึ่ง เกิดเป็นโมเมนต์
โมเมนต์ (moment) หมายถึง ผลคูณของแรงกับระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง หรือ
โมเมนต์ = แรง x ระยะทางตั้งฉากจากจุดหมุนไปยังแนวแรง
หน่วยของโมเมนต์ โมเมนต์มีหน่วยเป็น นิวตันเมตร
โมเมนต์มี 2 ชนิด คือ

1. โมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา
2. โมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
กฏของโมเมนต์
เมื่อวัตถุชิ้นหนึ่งถูกกระทำด้วยแรงหลายแรง แล้ววัตถุนั้นอยู่ในภาวะสมดุลจะได้ว่า
ผลรวมของโมเมนต์ตามเข็มนาฬิกา = ผลรวมของโมเมนต์ทวนเข็มนาฬิกา
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น
แรงเสียดทาน
แรงเสียดทาน หมายถึง แรงที่ใช้ต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ

กำหนดให้วัตถุมวล m มีน้ำหนัก mg วางอยู่บนพื้นราบ ดังรูป
โดย N คือ แรงปฏิกิริยาของพื้นที่กระทำต่อวัตถุ
mg คือ น้ำหนักของวัตถุที่กระทำต่อพื้น (กดลงพื้น)
เราสามารถพิจารณาผลที่เกิดขึ้นกับวัตถุได้ในหลายๆ กรณี ดังต่อไปนี้
1.เมื่อวัตถุอยู่นิ่ง ไม่มีแรงภายนอกมากระทำให้วัตถุเคลื่อนที่ แรงเสียดทานจะมีค่าเท่ากับศูนย์
2.เมื่อมีแรงภายนอกมากระทำ มีผลให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้าย แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางขวา คือมีทิศตรงกันข้ามกับการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกระทำต่อผิวล่างของวัตถุที่สัมผัสกับพื้น ดังรูป

โดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่
f แทน แรงเสียดทาน
ถ้าวัตถุเคลื่อนที่ด้วยความเร็วสม่ำเสมอจะได้ว่า F = f นั่นคือ แรงภายนอกที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่จะมีค่าเท่ากับแรงเสียดทาน
3.เมื่อมีแรงกระทำกับวัตถุเดิมแต่มีทิศที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ไปทางขวา แรงเสียดทานจะมีทิศทางไปทางซ้ายคอยต้านการเคลื่อนที่ของวัตถุ โดย F แทน แรงที่ใช้ดึงให้วัตถุเคลื่อนที่
f แทน แรงเสียดทาน

ประเภทของแรงเสียดทาน
แรงเสียดทานแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.แรงเสียดทานสถิต (Static Friction) เป็นแรงเสียดทานซึ่งเกิดจากผิววัตถุ 2 ชนิด มาสัมผัสกัน พบว่า แรงเสียดทานที่เกิดจะมีค่าไม่คงที่ จะมีปริมาณเท่ากับแรงที่มากระทำและจะมีค่าสูงสุดเมื่อวัตถุเริ่มเคลื่อนที่
2.แรงเสียดทานจลน์ (Kinetic Friction) เป็นแรงเสียดทานที่เกิดกับผิวของวัตถุทั้ง 2 ชนิด ในขณะที่วัตถุกำลังเคลื่อนที่ เช่น การกลิ้งของวัตถุ การลื่นไถลของวัตถุ และการไหลของวัตถุ เป็นต้น

แรงเสียดทานเนื่องจากการกลิ้งของวัตถุและแรงเสียดทานเนื่องจากการลื่นไถลของวัตถุนั้นขนาดของแรงเสียดทานจะขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุ ตัวอย่างเช่น เราสามารถดันรถยนต์ที่เข้าเกียร์ว่างไว้ให้เคลื่อนที่ได้ง่ายกว่าการดันรถบรรทุกขนาดใหญ่ เป็นต้น
นอกจากนี้แรงเสียดทานยังขึ้นอยู่กับลักษณะและประเภทของผิวหน้าของพื้นที่วัตถุสัมผัส พื้นผิวหน้าขรุขระจะทำให้เกิดแรงเสียดทานมากกว่าพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ ตัวอย่างเช่น แรงเสียดทานบนพื้นทรายมีค่ามากกว่าแรงเสียดทานบนพื้นคอนกรีตที่เป็นทางวิ่งของสเกตบอร์ด ส่วนแรงเสียดทานจะเกิดขึ้นน้อยมาก เมื่อคนดันกล่องไม้ให้เคลื่อนที่บนพื้นที่มีผิวหน้าเรียบ
แรงเสียดทานเนื่องจากของไหล เช่น น้ำ ลม หรืออากาศ จะเกิดขึ้นเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ข้าม ขวาง หรือผ่านเข้าไปในของไหลหรืออากาศ ตัวอย่างเช่น เมื่อเราถีบรถจักรยานปะทะลม หรือว่ายดำน้ำลงไปยังก้นสระหรือในทะเล ในของไหลนี้แรงเสียดทานของวัตถุจะขึ้นอยู่กับขนาด รูปร่าง และความเร็วของวัตถุด้วย

สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน เป็นอัตราส่วนระหว่างแรงที่กระทำให้วัตถุเคลื่อนที่กับแรงที่กดลงบนพื้นผิวสัมผัส นักวิทยาศาสตร์ใช้อักษรมิว เป็นสัญลักษณ์แทน สัมประสิทธิ์ของความเสียดทาน
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น
ใบความรู้ที่ 35
เรื่อง แรงดึงดูดของโลก
แรงดึงดูดของโลก
แรงดึงดูดของโลกเป็นแรงที่เกิดจากโลกออกแรงดึงดูดวัตถุต่างๆ ให้ไปยังจุดศูนย์กลางของโลก โดยแรงนี้จะกระทำต่อวัตถุต่างๆ อยู่ตลอดเวลา

น้ำหนัก
วัตถุต่างๆ ที่อยู่บนโลกมีน้ำหนัก ที่กล่าวว่ามีน้ำหนักนั้นเนื่องจาก แรงดึงดูดของโลกดึงดูดวัตถุให้ตกลงมายังพื้นโลก เมื่อกล่าวถึงน้ำหนักก็จะต้องกล่าวถึงมวลด้วย มวลและน้ำหนักไม่ใช่สิ่งเดียวกัน

มวล คือ ปริมาณของสารในวัตถุ
น้ำหนัก คือ แรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกที่กระทำต่อวัตถุ




ถ้าให้ m1 เป็นมวลของวัตถุ
m2 เป็นมวลของโลก
R เป็นระยะห่างจากจุดศูนย์กลางโลกถึงวัตถุ
F เป็นแรงดึงดูดระหว่างมวลของโลกและวัตถุ


หรือจะได้ว่า
F =Gm1M2/R2
G คือ ค่าคงตัวความโน้มถ่วงสากล มีค่า 6.67 × 10-11 Nm2/ kg2

นํ้าหนักของวัตถุชิ้นหนึ่งๆ เมื่อชั่งในบริเวณต่างกันจะมีค่าต่างกัน โดยนํ้าหนักของมวล
1 กิโลกรัมที่บริเวณเส้นศูนย์สูตรมีค่าประมาณ 9.78 นิวตัน ในขณะที่นํ้ าหนักของมวล 1 กิโลกรัม
ที่บริเวณขั้วโลกมีค่าประมาณ 9.83 นิวตัน

ถ้าวัตถุมีมวลมากแล้ว โลกก็จะต้องออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นมากด้วย วัตถุที่มีขนาดใหญ่นั้นก็จะมีน้ำหนักมากตามไปด้วย ในทำนองเดียวกันถ้าวัตถุนั้นมีมวลน้อย โลกก็จะออกแรงดึงดูดวัตถุนั้นน้อย วัตถุที่มีขนาดเบา ก็จะมีน้ำหนักน้อยเช่นกัน
น้ำหนัก คือแรงเนื่องจากแรงดึงดูดของโลกกระทำต่อวัตถุ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเราแขวนแอบเปิ้ลที่ตะขอของเครื่องชั่งสปริงแบบแขวน น้ำหนักของแอปเปิ้ลจะกรทำต่อสปริง แรงที่เกิดจากน้ำหนักของผลแอบเปิลจะกรทำต่อสปริงทำให้สปริงเปลี่ยนรูปร่างและขนาดได้

มนุษย์รู้จักธรรมชาติของแรงโน้มถ่วงของโลกมาเป็นเวลานานแล้ว และได้พัฒนาเครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนอุปกรณ์ต่างๆ ที่จะใช้ประโยชน์จากแรงโน้มถ่วง เช่น การใช้สามเกอตอกเสาเข็มซึ่งต่อมาได้พัฒนามาเป็นปั้นจั่น การใช้ประโยชน์จากการไหลของน้ำจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำไปหมุนเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า การเล่นไม้ลื่นหรือกระดานลื่นก็อาศัยน้ำหนักตัวเรา ทำให้เคลื่อนที่ลงมาตามไม้ลื่นได้
การพัฒนารูปร่างของยานพาหนะก็ต้องคำนึงถึงน้ำหนักของยานพาหนะและน้ำหนักของสัมภาระที่จะบรรทุกด้วย เพราะถ้าบรรทุกน้ำหนักมาก พลังงานที่ใช้ในการเคลื่อนที่ของยานพาหนะก็จะสิ้นเปลืองมากด้วย การยกของและการเดินขึ้นสู่ที่สูงต้องออกแรงเพื่อเอาชนะแรงโน้มถ่วงของโลก จึงมีการพัฒนาเครื่องมือและอุปกรณ์ช่วยผ่อนแรง หรืออำนวยความสะดวก เช่น รอก ลิฟท์ เพื่อช่วยในการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ที่สูงทำได้สะดวกและง่ายขึ้น
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น

พระธาตุดอยเวาแม่สาย

วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศ

ประวัติพระธาตุดอยเวา
พระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง


พระธาตุผางา

วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้ชื่อมาจากพระธาตุผาเงาที่อยู่ในบริเวณวัดซึ่งตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่า "ผาเงา" ก็คือ เงาของก้อนผาหรือก้อนหินที่มีลักษณะเป็นรูปสูงใหญ่คล้ายรูปทรงพระเจดีย์และให้ร่วมเงาที่ดีมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "พระธาตุผาเงา" พระธาตุองค์นี้เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๙๔ - ๕๑๒ โดย ขุนผาพัง เข้าผู้ครองนครโยนก องค์ที่ ๒๓ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุผาเงา นอกจากพระธาตุผาเงาแล้วยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น พระเจดีย์เจ็ดยอด พระเจดีย์จอมจัน พระวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา พระธาตุพุทธนิมิต และซุ้มประตูพระธาตุผาเงาที่มีลวดลายลักษณะสวยงามมาก เป็นสถานปฏิบัติธรรมบนเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๐๕ วิหารใหม่สร้างขึ้นบริเวณที่ขุดพบพระประธาน (หลวงพ่อเงา) บนยอดเขาประดิษฐาน พระบรมธาตุนิมิตรเจดีย์ ซึ่งบริเวณนี้สามารถชมวิว ทิวทัศน์บริเวณเมืองเชียงแสน แม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้









































นางปรัธยาภรณ์ สงค์รอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงรายเปิดเผยว่า ในฤดูกาลท่องเที่ยวปีนี้ จังหวัดเชียงราย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศที่หนาวเย็นขึ้น และมีประชาชนจำนวนมากที่ต้องเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า แต่ในการเดินทาง ซึ่งจำเป็นต้องมีบัตรผ่านแดน จึงมีข้อแนะนำดังนี้

กรณีการทำบัตรข้ามไปยังพม่า ที่ด่านท่าขี้เหล็ก อ.แม่สาย
- ทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว ที่หอประชุมอ.แม่สาย เพียงแห่งเดียว โดยมีค่าใช้จ่าย คนละ 30 บาท10 บาท ต้องเตรียมเอกสาร คือ บัตรประชาชน หรือ พาสปอร์ต ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติและต้องชำระเงินผ่านแดนให้ปับประเทศพม่า

กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามไปด้วย จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาทะเบียนรถ - คู่มือรถตัวจริง แสดงให้ทางเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสอบก่อนเข้า
- กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถที่ต้องนำข้ามแดน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ แสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างชัดเจน บัตรผ่านแดนจะมีอายุการใช้งาน 7 วัน

กรณีต้องการข้ามแดนไปยังประเทศลาว ที่อำเภอเชียงของ
- จำเป็นต้องเตรียม บัตรประชาชน และค่าธรรมเนียม คนละ 30 บาท ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของแห่งเดียว
- กรณีที่มีพาสปอร์ตอยู่แล้ว สามารถนำพาสปอร์ตยื่นที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีก
- กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามแดน ต้องมีพาสปอร์ตรถ และเอกสารการเป็นเจ้าของรถ ยื่นต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง
- ชำระที่ค่าธรรมเนียมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศลาว ในวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ คนละ 50 บาท และในวันเสาร์ – อาทิตย์ คนละ 70 บาท
- ค่าโดยสารทางเรือ คนละ 30 บาท
- กรณีต้องการค้างคืน อยู่ได้ไม่เกิน 3วัน 2 คืน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน

แหล่งข่าว สวท.เชียงราย

* เชียงรายโฟกัส ดอทคอม/ www.chiangraifocus.com

หลวงพ่อเดิม ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว”

บล็อกนี้
ลิงก์จากที่นี่
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เว็บ
บล็อกนี้
ลิงก์จากที่นี่
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เว็บ

ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้

ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้

ตรุษจีน ปี2553 ทุกราศีควรไปไหว้ เทพเจ้าเสริมดวงชะตา ดังนี้
ปีชวด(หนู)
ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ซำกวง” หรือ “เทพ 3 ตา” วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กรุงเทพ

ปีฉลู(วัว)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพหั่วท้อ” หรือ “หมออูโต๋ว” (หมดเทวดา) ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีขาล(เสือ)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)

ปีเถาะ(กระต่าย)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเจ้าไท้เอี๊ยง” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่
มังกรกมลาวาส หรือ วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีมะโรง(งูใหญ่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเทียงเต็ก” ไหว้ฟ้าดิน หรือไหว้ที่เสาทีกง
ได้ทุกศาลเจ้า

ปีมะเส็ง(งูเล็ก)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกร
กมลาวาส(ทำแก้ชง)
“องค์ไท้อิม” ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีมะเมีย(ม้า)

ให้ไปไหว้ขอพร “องค์เจี้ยงแซ” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้า
กวนตี่ เยาวราช
หรือที่ไหนก็ได้ที่มี

ปีมะแม(แพะ) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพห่วยเต็ก” ไหว้ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ มูลนิธิ
เทียนฟ้า เยาวราช หรือทุกศาลเจ้าที่มี

ปีวอก(ลิง) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(
ทำแก้ชง)

ปีระกา(ไก่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเหล่งเต็ก” ไหว้ “องค์แป๊ะกง” ได้ทุกศาลเจ้าที่
มีแป๊ะกง

ปีจอ(หมา) ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ตั่วเหล่าเอี๊ย” ได้ทุกศาลเจ้าที่มีเจ้าพ่อเสือ

ปีกุน(หมู) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส
(ทำแก้ชง)
"องค์กวนอู” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้ากวนตี่ เยาวราช หรือ ที่ไหนก็ได้
ที่มี

ถ้า ไม่สามารถไปไหว้เทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามที่แนะนำตามศาลเจ้าที่บอก
ได้ให้ดูตาม ศาลเจ้าหรือวัดใกล้บ้านที่มีเทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามปีเกิดของคุณ
แล้วขอพรจากองค์เทพนั้นโดยตรง โดยอธิฐานดังนี้

ข้าพเจ้า ขอกราบบูชาและต้อนรับ”.....(ชื่อเทพเจ้าที่เสริมดวงชะตา
ปี2553 ประจำปีเกิดของคุณ)” ซึ่งมาสถิตในเรือนชะตาของ ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)
ด้วยความศรัทธายิ่งขอได้โปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรค แคล้วคลาดจาก
ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งประทานความสำเร็จ ความสุขความเจริญ มีสิริ
มงคล สุขภาพแข็งแรง และโชคดีตลอดปี2553 แก่ข้าพเจ้า เทอญ...สาธุ

ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
วันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่
แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ
อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
ที่มา http://images.google.com/imgres?imgurl=http://www.lifepitlok.com/images_news/1263171994.jpg&imgrefurl=http://www.lifepitlok.com/&usg=__v00JW7HbMY26yWHUBo8_vLNbwHc=&h=300&w=450&sz=76&hl=th&start=2&sig2=955APENtaT-PZlKDNGThrw&um=1&itbs=1&tbnid=-7KlA1OqtfS57M:&tbnh=85&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%2B2553%26hl%3Dth%26rls%3Dcom.microsoft:en-US%26sa%3DN%26um%3D1&ei=0HZ1S4jwNYPBrAeaseW8Cg

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกน้อยกว่า 20% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจาย(Scattered)
ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนทั่วไป(Widespread)
ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร หมายถึงข้อใด
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตร
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตร
ก.ฝนหนัก(Heavy Rain) ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณนับไม่ได้
ก.ไม่มีฝนตก ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)