ฟังความหมาย นะ คราฟ (*__*)

วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

แข่งเรือเฮือซ่วง..แห่กฐินทางน้ำ...สืบสานสู่รุ่นลูก-หลาน

ปีนี้จังหวัดสุโขทัย เน้นการสืบทอดวัฒนธรรมท้องถิ่นเพื่อคนรุ่นหลัง เสริมงานประเพณีลอยกระทง และเทศกาลอาหาร โดยเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโข ทัย ได้กำหนดจัดแห่กฐินทางน้ำขึ้น ระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม -2 พฤศจิกายน 2552 ณ บริเวณเขื่อนเรียงหิน หมู่ 2 ต.หาดเสี้ยว อ.ศรีสัชนาลัย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ สุดเสมอใจ นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวถึงความเป็นมาของประเพณีแห่องค์กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ หรือชาวบ้านเรียกว่า (เฮือซ่วง) เป็นการทำบุญในเทศกาลทอดกฐินของชาวไทยพวน ที่นิยมทอดกันตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 เป็นต้นไป จนถึงกลางเดือน 12 และถือกันว่า การทอดกฐินได้บุญมาก ผู้มีฐานะดีพอที่จะทอดได้ ต้องทอดด้วยกันทุกคน ผู้มีจิตศรัทธาปรารถนาจะทอดกฐิน ต้องเขียนหนังสือแสดงความจำนงจะทอดกฐินในวัน เดือน ปี นั้น ๆ ไปติดประกาศไว้ที่วัด เรียกว่า จองกฐิน

นายกเทศมนตรีตำบลหาดเสี้ยว กล่าวอีกว่า ในอดีตการทอดกฐินถ้าไปทอดที่วัดห่างไกลจากหมู่บ้าน ชาวบ้านจะช่วยกันแห่ไปแล้วทอดเสร็จในวันเดียว หากทอดที่วัดประจำในหมู่บ้าน หรือวัดใดวัดหนึ่งใกล้ ๆ กัน จะต้องมีการแห่วันหนึ่ง ทอดวันหนึ่ง การแห่ คือ การจัดเครื่องกฐิน เรียกว่า กองกฐิน ลงเรือยาวขนาดใหญ่ซึ่งจัดสร้างขึ้นไว้ในการนี้โดยเฉพาะ แล้วประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ตามความนิยมของชาวบ้านหาดเสี้ยว ก่อนจะแห่ขึ้นไปตามลำน้ำ ซึ่งบรรดาชาวบ้านที่ตั้งบ้านเรือนอยู่สองฝั่งแม่น้ำ เมื่อได้ยินพิณพาทย์แห่กฐินมา จะพากันอุ้มลูกจูงหลานมาดูมาชมอย่างคับคั่ง ส่วนผู้เฒ่าผู้แก่ จะถือเครื่องไทยธรรมตามมีตามเกิด มารอคอยอยู่ที่ท่าน้ำเพื่อร่วมอนุโมทนาด้วย

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวเพิ่มเติมว่า เมื่อเรือกฐินผ่านมา จะแวะเข้าไปรับทุก ๆ แห่ง จนสุดหมู่บ้านแล้ววนกลับ ในการแห่กฐินนี้พวกเด็กเล็กในหมู่บ้านที่ทอดกฐิน ต่างพากันร้องไห้กระจองอแง ขอให้พ่อแก่นำไปแห่กฐินด้วย พ่อแม่จำเป็นจะต้องพาลงเรือพายเรือแจวไปร่วมกับเรือกฐิน แต่ประเพณี ดังกล่าวเริ่มจะจางหายไปตามกาลเวลา คนรุ่นหลังก็ยังให้ ความสนใจประเพณี นี้ไม่มากนัก

“ดังนั้นทางผู้บริหาร และคณะเทศบาลตำบลหาดเสี้ยว จึงได้ฟื้นฟูและสนับสนุนประเพณีแห่กฐินทางน้ำ และแข่งเรือ (เฮือซ่วง) ขึ้น ซึ่งคาดหมายว่า จะได้รับความพึงพอใจจากชาวตำบลบ้านหาดเสี้ยว และคนสุโขทัย พร้อมทั้งนักท่องเที่ยวที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวศึกษาขนบธรรมเนียมประเพณี ที่สำคัญอีกอย่างของคนสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นเมืองวัฒนธรรมและเมืองมรดกโลก ซึ่งพร้อมจะสืบสานประเพณีนี้ให้คงอยู่คู่กับชุมชนเทศบาลตำบลหาดเสี้ยวและคน หาดเสี้ยวต่อไป”

ว่าที่ ร.ต.ธีระยุทธ กล่าวว่า สุโขทัย เป็นเมืองเก่าแก่ เป็นต้นกำเนิดของวัฒนธรรมประ เพณีที่หลากหลาย และน่าค้นคว้า ซึ่งหากใครได้มาชมงานกฐินทางน้ำ และแข่งเรือของชาวหาดเสี้ยวแล้ว เชื่อว่านอกจากจะได้สนุกสนานเพลิดเพลินแล้ว ยังได้รับรู้ถึงวัฒนธรรมประเพณีของที่นี่อีกด้วย.
เขียนโดย ด.ญ.กมลวรรณ จีทา 0 ความคิดเห็น

พระธาตุดอยเวาแม่สาย

วัดพระธาตุดอยเวา เป็นวัดอันเป็นที่ประดิษฐานพระธาตุดอยเวา พระธาตุที่เชื่อกันว่า มีความเก่าแก่เป็นรองพระธาตุดอยตุง พระธาตุดอยเวานั้น ตั้งอยู่บนยอดดอยเวา แต่พระอุโบสถและเขตสังฆาวาสจะอยู่ที่เชิงดอย ผู้ที่จะขึ้นไปนมัสการต้องเดินขึ้นบันไดไปนมัสการ ซึ่งข้างบนเป็นจุดชมทัศนียภาพสองฝั่งสาย สามารถเห็นทัศนียภาพได้รอบทิศ

ประวัติพระธาตุดอยเวา
พระธาตุดอยเวา สร้างในพ.ศ. 296 ในรัชสมัยพระองค์เวา รัชกาลที่ 10 แห่งราชวงศ์สิงหนวัติ ผู้ครองนครโยนกนาคพันธุ์ โดยชื่อนั้นได้นำมาจากพระนามของพระองค์เวา ต่อมาพระธาตุเจดีย์ได้พังลงตามกาลเวลา นายบุญยืน ศรีสมุทร คฤหบดีอำเภอแม่สาย ได้ร่วมกับ พระภิกษุดวงแสง รัตนมณี พร้อมด้วย ข้าราชการ พ่อค้า ประชาชนผู้มีจิตศรัทธา และ กรมศิลปากร ร่วมกันจัดสร้างขึ้นขึ้นใหม่ ในการขุดแต่งครั้งนี้ พบผอบหินสีดำ ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ 5 พระองค์ จึงได้อัญเชิญขึ้นประดิษฐานในองค์พระธาตุดังเดิม มีการวางศิลาฤกษ์ในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2494 และสร้างเสร็จพร้อมฉลองสมโภชพระธาตุในวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 โดยมีพุทธบริษัททั้งสองประเทศ ร่วมงานอย่างคับคั่ง


พระธาตุผางา

วัดพระธาตุผาเงา อำเภอเชียงแสน เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญของจังหวัดเชียงราย ได้ชื่อมาจากพระธาตุผาเงาที่อยู่ในบริเวณวัดซึ่งตั้งอยู่บนยอดหินก้อนใหญ่ คำว่า "ผาเงา" ก็คือ เงาของก้อนผาหรือก้อนหินที่มีลักษณะเป็นรูปสูงใหญ่คล้ายรูปทรงพระเจดีย์และให้ร่วมเงาที่ดีมาก ชาวบ้านจึงเรียกกันว่า "พระธาตุผาเงา" พระธาตุองค์นี้เชื่อกันว่าสร้างมาตั้งแต่ ระหว่าง ปี พ.ศ.๔๙๔ - ๕๑๒ โดย ขุนผาพัง เข้าผู้ครองนครโยนก องค์ที่ ๒๓ สิ่งสำคัญในวัดพระธาตุผาเงา นอกจากพระธาตุผาเงาแล้วยังมีสถานที่น่าสนใจอีกหลายแห่ง เช่น พระเจดีย์เจ็ดยอด พระเจดีย์จอมจัน พระวิหาร สถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปหลวงพ่อผาเงา พระธาตุพุทธนิมิต และซุ้มประตูพระธาตุผาเงาที่มีลวดลายลักษณะสวยงามมาก เป็นสถานปฏิบัติธรรมบนเนื้อที่ประมาณ ๑๔๓ ไร่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี พ.ศ.๑๐๐๕ วิหารใหม่สร้างขึ้นบริเวณที่ขุดพบพระประธาน (หลวงพ่อเงา) บนยอดเขาประดิษฐาน พระบรมธาตุนิมิตรเจดีย์ ซึ่งบริเวณนี้สามารถชมวิว ทิวทัศน์บริเวณเมืองเชียงแสน แม่น้ำโขง แม่น้ำคำ และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้









































นางปรัธยาภรณ์ สงค์รอด ประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงรายเปิดเผยว่า ในฤดูกาลท่องเที่ยวปีนี้ จังหวัดเชียงราย คาดว่าจะมีนักท่องเที่ยวเข้ามาเป็นจำนวนมากกว่าปีที่ผ่านมา เนื่องจากความสงบเรียบร้อยและบรรยากาศที่หนาวเย็นขึ้น และมีประชาชนจำนวนมากที่ต้องเดินทางไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาวและพม่า แต่ในการเดินทาง ซึ่งจำเป็นต้องมีบัตรผ่านแดน จึงมีข้อแนะนำดังนี้

กรณีการทำบัตรข้ามไปยังพม่า ที่ด่านท่าขี้เหล็ก อ.แม่สาย
- ทำบัตรผ่านแดนชั่วคราว ที่หอประชุมอ.แม่สาย เพียงแห่งเดียว โดยมีค่าใช้จ่าย คนละ 30 บาท10 บาท ต้องเตรียมเอกสาร คือ บัตรประชาชน หรือ พาสปอร์ต ในกรณีที่เป็นชาวต่างชาติและต้องชำระเงินผ่านแดนให้ปับประเทศพม่า

กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามไปด้วย จะต้องเตรียมเอกสารดังนี้
- สำเนาทะเบียนรถ - คู่มือรถตัวจริง แสดงให้ทางเจ้าหน้าที่ด่านตรวจสอบก่อนเข้า
- กรณีที่ไม่ใช่เจ้าของรถที่ต้องนำข้ามแดน ต้องมีหนังสือมอบอำนาจ แสดงให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างชัดเจน บัตรผ่านแดนจะมีอายุการใช้งาน 7 วัน

กรณีต้องการข้ามแดนไปยังประเทศลาว ที่อำเภอเชียงของ
- จำเป็นต้องเตรียม บัตรประชาชน และค่าธรรมเนียม คนละ 30 บาท ณ ที่ว่าการอำเภอเชียงของแห่งเดียว
- กรณีที่มีพาสปอร์ตอยู่แล้ว สามารถนำพาสปอร์ตยื่นที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองได้เลย โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอีก
- กรณีต้องการนำรถส่วนตัวข้ามแดน ต้องมีพาสปอร์ตรถ และเอกสารการเป็นเจ้าของรถ ยื่นต่อด่านตรวจคนเข้าเมือง
- ชำระที่ค่าธรรมเนียมที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองประเทศลาว ในวันทำการ จันทร์ – ศุกร์ คนละ 50 บาท และในวันเสาร์ – อาทิตย์ คนละ 70 บาท
- ค่าโดยสารทางเรือ คนละ 30 บาท
- กรณีต้องการค้างคืน อยู่ได้ไม่เกิน 3วัน 2 คืน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อน

แหล่งข่าว สวท.เชียงราย

* เชียงรายโฟกัส ดอทคอม/ www.chiangraifocus.com

หลวงพ่อเดิม ผู้ซึ่งได้รับการขนานนามและยกย่องเป็น “เทพเจ้าแห่งเมืองสี่แคว”

บล็อกนี้
ลิงก์จากที่นี่
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เว็บ
บล็อกนี้
ลิงก์จากที่นี่
กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
เว็บ

ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้

ไหว้เจ้า เสริมดวงชะตา รับ ตรุษจีน2553 นี้

ตรุษจีน ปี2553 ทุกราศีควรไปไหว้ เทพเจ้าเสริมดวงชะตา ดังนี้
ปีชวด(หนู)
ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ซำกวง” หรือ “เทพ 3 ตา” วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กรุงเทพ

ปีฉลู(วัว)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพหั่วท้อ” หรือ “หมออูโต๋ว” (หมดเทวดา) ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีขาล(เสือ)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(ทำแก้ชง)

ปีเถาะ(กระต่าย)
ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเจ้าไท้เอี๊ยง” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่
มังกรกมลาวาส หรือ วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีมะโรง(งูใหญ่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเทียงเต็ก” ไหว้ฟ้าดิน หรือไหว้ที่เสาทีกง
ได้ทุกศาลเจ้า

ปีมะเส็ง(งูเล็ก)
ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกร
กมลาวาส(ทำแก้ชง)
“องค์ไท้อิม” ที่วัดทิพย์วารี หลังจราจรกลาง ถ.ตรีเพชร กทม.

ปีมะเมีย(ม้า)

ให้ไปไหว้ขอพร “องค์เจี้ยงแซ” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้า
กวนตี่ เยาวราช
หรือที่ไหนก็ได้ที่มี

ปีมะแม(แพะ) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพห่วยเต็ก” ไหว้ “เจ้าแม่กวนอิม” ที่ มูลนิธิ
เทียนฟ้า เยาวราช หรือทุกศาลเจ้าที่มี

ปีวอก(ลิง) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส(
ทำแก้ชง)

ปีระกา(ไก่) ให้ไปไหว้ขอพร “เทพเหล่งเต็ก” ไหว้ “องค์แป๊ะกง” ได้ทุกศาลเจ้าที่
มีแป๊ะกง

ปีจอ(หมา) ให้ไปไหว้ขอพร “องค์ตั่วเหล่าเอี๊ย” ได้ทุกศาลเจ้าที่มีเจ้าพ่อเสือ

ปีกุน(หมู) ให้ไปไหว้ขอพร “ไท้ส่วยเอี๊ย” ที่ศาลเจ้าเล่งเน่ยยี่ มังกรกมลาวาส
(ทำแก้ชง)
"องค์กวนอู” ไหว้ “เทพเจ้ากวนอู” ที่ ศาลเจ้ากวนตี่ เยาวราช หรือ ที่ไหนก็ได้
ที่มี

ถ้า ไม่สามารถไปไหว้เทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามที่แนะนำตามศาลเจ้าที่บอก
ได้ให้ดูตาม ศาลเจ้าหรือวัดใกล้บ้านที่มีเทพเจ้าเสริมดวงชะตาตามปีเกิดของคุณ
แล้วขอพรจากองค์เทพนั้นโดยตรง โดยอธิฐานดังนี้

ข้าพเจ้า ขอกราบบูชาและต้อนรับ”.....(ชื่อเทพเจ้าที่เสริมดวงชะตา
ปี2553 ประจำปีเกิดของคุณ)” ซึ่งมาสถิตในเรือนชะตาของ ข้าพเจ้า (ชื่อ-นามสกุล)
ด้วยความศรัทธายิ่งขอได้โปรดประทานพรให้ข้าพเจ้า ปราศจากอุปสรรค แคล้วคลาดจาก
ภัยอันตรายทั้งหลายทั้งปวง พร้อมทั้งประทานความสำเร็จ ความสุขความเจริญ มีสิริ
มงคล สุขภาพแข็งแรง และโชคดีตลอดปี2553 แก่ข้าพเจ้า เทอญ...สาธุ

ตรุษจีน หรือ เทศกาลฤดูใบไม้ผลิ หรือ ขึ้นปีเพาะปลูกใหม่ และยังรู้จักกันในนาม วันขึ้นปีใหม่ทางจันทรคติ เป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีของชาวจีนในจีนแผ่นดินใหญ่และชาวจีนโพ้นทะเลทั่วโลก เทศกาลนี้เริ่มต้นในวันที่ 1 เดือน 1 ของปีตามจันทรคติ และสิ้นสุดในวันที่ 15 ซึ่งจะเป็นเทศกาลประดับโคมไฟ
ในวันตรุษจีนจะมีการเฉลิมฉลองทั่วโลกโดยเฉพาะชุมชนเชื้อสายจีนขนาดใหญ่ และตรุษจีนถือเป็นวันหยุดที่สำคัญมากช่วงหนึ่งของชาวจีน และยังแผ่อิทธิพลไปถึงการฉลองปีใหม่ของชนชาติที่อยู่รายรอบ เช่น ญี่ปุ่น เกาหลี เมี่ยน ม้ง มองโกเลีย เวียดนาม ทิเบต เนปาล และภูฐาน สำหรับชาวจีนที่อาศัยอยู่ต่างถิ่นกันก็จะมีประเพณีเฉลิมฉลองต่างกันไป ในประเทศไทย
ชาวไทยเชื้อสายจีนจะถือประเพณีปฏิบัติอยู่ 3 วัน คือวันจ่าย วันไหว้ และวันเที่ยว
วันจ่าย คือวันก่อนวันสิ้นปี เป็นวันที่ชาวไทยเชื้อสายจีนจะต้องไปซื้ออาหารผลไม้และเครื่องเซ่นไหว้ต่างๆ ก่อนที่ร้านค้าทั้งหลายจะปิดร้านหยุดพักผ่อนยาว ในตอนค่ำจะมีการจุดธูปอัญเชิญเจ้าที่ ให้ลงมาจากสวรรค์เพื่อรับการสักการบูชาของเจ้าบ้าน หลังจากที่ได้ไหว้อัญเชิญขึ้นสวรรค์เมื่อ 4 วันที่แล้ว
วันไหว้ คือวันสิ้นปี จะมีการไหว้ 3 ครั้ง คือ
ตอนเช้ามืดจะไหว้ "ไป่เล่าเอี๊ย" เป็นการไหว้เทพเจ้าต่างๆ เครื่องไหว้คือ เนื้อสัตว์สามอย่าง (ซาแซ) ได้แก่ หมู เป็ด ไก่ หรือเพิ่มตับ ปลา เป็นเนื้อสัตว์ห้าอย่าง (โหงวแซ) เหล้า น้ำชา และกระดาษเงินกระดาษทอง
ตอนสาย จะไหว้ "ไป่แป๋บ้อ" คือการไหว้บรรพบุรุษ พ่อแม่ญาติพี่น้องที่ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นการแสดงความกตัญญูตาม คติจีน การไหว้ครั้งนี้จะไหว้ไม่เกินเที่ยง เครื่องไหว้จะประกอบด้วย ซาแซ อาหารคาวหวาน (ส่วนมากจะทำตามที่ผู้ที่ล่วงลับเคยชอบ) รวมทั้งการเผากระดาษเงินกระดาษทอง เสื้อผ้ากระดาษเพื่ออุทิศแก่ผู้ล่วงลับ หลังจากนั้น ญาติพี่น้องจะมารวมกันรับประทานอาหารที่ได้เซ่นไหว้ไปเป็นสิริมงคล และถือเป็นเวลาที่ครอบครัวหรือวงศ์ตระกูลจะรวมตัวกันได้มากที่สุด จะแลกเปลี่ยนอั่งเปาหลังจากรับประทานอาหารร่วมกันแล้ว
ตอนบ่าย จะไหว้ "ไป่ฮ่อเฮียตี๋" เป็นการไหว้ผีพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว เครื่องไหว้จะเป็นพวกขนมเข่ง ขนมเทียน เผือกเชื่อมน้ำตาล กระดาษเงินกระดาษทอง พร้อมทั้งมีการจุดประทัดเพื่อไล่สิ่งชั่วร้ายและเพื่อเป็นสิริมงคล
วันเที่ยว หรือ วันถือ คือวันขึ้นปีใหม่ เป็นวันที่หนึ่ง ของเดือนที่หนึ่งของปี วันนี้ชาวจีนจะถือธรรมเนียมโบราณที่ยังปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงปัจจุบันคือ "ไป่เจีย" เป็นการไหว้ขอพรและอวยพรจากญาติผู้ใหญ่และผู้ที่เคารพรัก โดยนำส้มสีทองไปมอบให้ เหตุที่ให้ส้มก็เพราะส้มออกเสียงภาษาจีนแต้จิ๋วว่า "กิก" ซึ่งไปพ้องกับคำว่าความสุขหรือโชคลาภ เพราะฉะนั้นการให้ส้มจึงเหมือนนำความสุขหรือโชคลาภไปให้ จะมอบส้มจำนวน 4 ผล ห่อด้วยผ้าเช็ดหน้าของผู้ชาย เหตุที่เรียกวันนี้ว่าวันถือคือ เป็นวันที่ชาวจีนถือว่าเป็นสิริมงคล งดการทำบาป จะมีคติถือบางอย่าง เช่น ไม่พูดจาไม่ดีต่อกัน ไม่ทวงหนี้กัน ไม่จับไม้กวาด และจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าใหม่แล้วออกเยี่ยมอวยพรและพักผ่อนนอกบ้าน เป็นต้น
สัญลักษณ์อีกอย่างของเทศกาลนี้ คือ อั่งเปา (ซองแดง) คือ ซองแดงใส่เงินที่ผู้ใหญ่แล้วจะมอบให้ผู้น้อย และมีการแลกเปลี่ยนกันเอง หรือ หรือจะใช้คำว่า แต๊ะเอีย (ผูกเอว) ที่มาคือในสมัยก่อน เหรียญจะมีรูตรงกลาง ผู้ใหญ่จะร้อยด้วยเชือกสีแดงเป็นพวงๆ และนำมามอบให้เด็กๆ เด็กๆ ก็จะนำมาผูกเก็บไว้ที่เอว
ในเทศกาลนี้ ชาวจีนจะกล่าวคำ ห่ออ่วย หรอคำอวยพรภาษาจีนให้กัน หรือมีการติดห่ออ่วยไว้ตามสถานที่ต่างๆ คำที่นิยมใช้กันได้แก่
แต้จิ๋ว: ซินเจียยู่อี่ ซินนี้ฮวดไช้ จีนกลาง: ซินเจิ้งหรูอี้ ซินเหนียนฟาฉาย แปลว่า ขอให้ประสบโชคดี ขอให้มั่งมีปีใหม่
เกียฮ่อซินนี้ ซินนี้ตั้วถั่น แปลว่า สวัสดีปีใหม่ ขอให้ร่ำรวยๆ
อีกฝ่ายก็จะกล่าวตอบว่า ตั่งตังยู่อี่ แปลว่า ขอให้สุขสมหวังเช่นกัน
ที่มา http://images.google.com/imgres?imgurl=http://www.lifepitlok.com/images_news/1263171994.jpg&imgrefurl=http://www.lifepitlok.com/&usg=__v00JW7HbMY26yWHUBo8_vLNbwHc=&h=300&w=450&sz=76&hl=th&start=2&sig2=955APENtaT-PZlKDNGThrw&um=1&itbs=1&tbnid=-7KlA1OqtfS57M:&tbnh=85&tbnw=127&prev=/images%3Fq%3D%25E0%25B8%2595%25E0%25B8%25A3%25E0%25B8%25B8%25E0%25B8%25A9%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%2599%2B2553%26hl%3Dth%26rls%3Dcom.microsoft:en-US%26sa%3DN%26um%3D1&ei=0HZ1S4jwNYPBrAeaseW8Cg

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกน้อยกว่า 20% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 20% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 40% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 40% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 60% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)
ค.ฝนกระจาย(Scattered) ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 60% ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 80% ของพื้นที่ หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนกระจาย(Scattered)
ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ลักษณะพื้นที่ มีฝนตกตั้งแต่ 80% ของพื้นที่ ขึ้นไป หมายถึงข้อใด
ก.ฝนบางพื้นที่(Isolated) ข.ฝนทั่วไป(Widespread)
ค.ฝนเกือบทั่วไป(Almost Widespread)ง.ฝนกระจายเป็นแห่งๆ (Widely Scattered)

ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 10.1 มิลลิเมตร ถึง 35.0 มิลลิเมตร หมายถึงข้อใด
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 90.1 มิลลิเมตร ขึ้นไป
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 0.1 มิลลิเมตร ถึง 10.0 มิลลิเมตร
ก.ฝนปานกลาง(Moderate Rain) ข.ฝนหนัก(Heavy Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณตั้งแต่ 35.1 มิลลิเมตร ถึง 90.0 มิลลิเมตร
ก.ฝนหนัก(Heavy Rain) ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)

ข้อใด หมายถึง ฝนตกมีปริมาณนับไม่ได้
ก.ไม่มีฝนตก ข.ฝนปานกลาง(Moderate Rain)
ค.ฝนหนักมาก(Very Heavy Rain) ง.ฝนเล็กน้อย(Light Rain)